ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เปิดชีวิต แพทย์ชนบทดีเด่น

โดย ไทยรัฐออนไลน์ 17 มิ.ย. 2557 05:35
ภาคใต้ของประเทศไทย ถือเป็นพื้นที่แห่งความหลากหลายทางวัฒนธรรม ศาสนา วิถีชีวิต แม้จะมีความแตกต่างกัน แต่ถือเป็นโอกาสในการเชื่อมโยงเรียนรู้ ทำความรู้จักซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดการสื่อสารความเข้าใจ
วันนี้ "ไทยรัฐออนไลน์" ขอเปิดเผยชีวิตจริงของคนทำงานในพื้นที่อีกคนหนึ่ง ที่แม้จะไม่ได้เป็นคนใต้โดยกำเนิด แต่ได้คลุกคลืทำงานยาวนานถึง 20 ปี ในพื้นที่ จ.ปัตตานี คือ "นายแพทย์นิรันดร์ วิชเศรษฐสมิต" ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมายอ จังหวัดปัตตานี และล่าสุด กับ รางวัลแพทย์ดีเด่นในชนบท คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล คนที่ 40 ประจำปี 2556 โดยรางวัลดังกล่าวมอบแก่แพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในชนบท ที่ทำประโยชน์และคุณค่าของการพัฒนาพื้นที่ชนบท
นายแพทย์นิรันดร์ เปิดเผยว่า แรงจูงใจของการเป็นแพทย์ชนบท เริ่มต้นจากการมองอาจารย์หมอของเรา แล้วอยากเป็นหมอที่เก่งเหมือนอาจารย์ จากที่ได้ฟังปาถกฐาจากแพทย์รุ่นพี่ที่จบไปแล้วไปอยู่ชนบท จากนั้นกลับมากรุงเทพฯ เพียง 2 ครั้ง หลังจากลงไปทำงานในพื้นที่ เกิดความสงสัยว่า อะไรทำให้อยู่ได้นานเช่นนั้น นอกจากนี้ แรงผลักดันที่สำคัญอีกประการในการทำงาน คือ เห็นความทุกข์ของคน และความสามารถทางวิชาชีพสามารถช่วยเหลือตรงนั้นได้
จากจุดเริ่มต้นตัดสินปฏิบัติงานใน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นแพทย์ประจำรักษาผู้ป่วย อ.ปะนาเระ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลมายอ จ.ปัตตานี ซึ่งอยู่ในพื้นที่ระดับความรุนแรงสีแดง และปัญหาความยากจนสูง (ประชากรนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 97 เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเป็นมุสลิมร้อยละ 92 รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรน้อยกว่า 32,000 บาท/ครอบครัว/ปี)
นายแพทย์นิรันดร์ เล่าว่า เพราะคิดว่าได้ทำงานโดยก้าวข้ามความแตกต่างแล้ว อยากให้ความรุนแรงเว้นเรา (โรงพยาบาล) ไว้เป็นพื้นที่ที่จะดูแลไม่แยกเชื้อชาติ วรรณะ ศาสนาใด อยากให้เกิดสันติภาพโดยระบบสุขภาพที่เราร่วมกันสร้างขึ้น
"ส่วนตัวหมอเองเป็นพุทธ ทำงานในพื้นที่เจ้าหน้าที่ของทางโรงพยาบาล 92% เป็นมุสลิม อยู่ด้วยกัน ไม่รู้สึกแตกต่างกัน แม้ศาสนาจะมีวิธีที่แตกต่างกัน แต่ความรักที่จะทำงานให้คนอื่นและความเมตตากรุณามากมาย ศาสนามุสลิม หลักศาสนาสอนให้เป็นคนดี คนดีอยู่ร่วมกันเยอะๆ ทำให้อยากทำดีไปด้วย ลูกน้องอยากให้ทำความดี ศาสนามุสลิมสอนให้ทำความดีร่วมกัน และการทำความดีเป็นหมู่เกิดได้ง่าย และสร้างระบบสุขภาพตรงนี้ ที่พึ่งของประชาชน ขอเว้นระบบสุขภาพตรงนี้เป็นพื้นที่ปลอดภัย"
นายแพทย์นิรันดร์ เล่าถึงเหตุผลที่ทำงานในพื้นที่ได้นานถึง 20 ปีว่า คือลูกน้อง เพราะทำงานกันนานก็ผูกพัน มีหลายเหตุการณ์หลายวาระ ปี 2540 มาอยู่มายอ เป็นโรงพยาบาล 10 เตียง เลยตั้งใจจะทำ 30 เตียงให้สำเร็จ ต่อมาปี 2545 เกิดโครงการ 30 บาทขึ้น คนไข้เยอะมากขึ้น อัตราแรงงานไม่เพียงพอ หมอขาด จำเป็นต้องอยู่ต่อ พอมา ปี 2547-2549 ช่วงนั้นสถานการณ์รุนแรงมาก ปัญหาคือ หากผมย้ายแล้วใครจะขอร้องให้คนทำงานโดยไม่ขาดคน เป็นความจำเป็นของตัวผมเอง คงต้องอยู่เพื่อบอกให้ทุกคนช่วยกันอยู่ก่อน แล้วเป็นเหตุผลหลายอย่างที่ทำให้ผมอยู่มาเรื่อยๆ กลายเป็นความผูกพันกับคนทำงาน เราอยู่ตรงนั้นกันมานาน ร่วมหัวจมท้ายมีทุกข์สุขกันมา
เป้าหมายเพื่อการพัฒนาในพื้นที่...
คนมายอจริงๆ ไม่ได้ขัดแย้งกัน แต่เป็นความแตกต่างทางด้านศาสนามากกว่าความเชื่อ และความยากจนยังสูงมาก โรงพยาบาลจะเป็นที่ทำจะช่วยนำสันติสุขกลับมา สำหรับในพื้นที่อยากให้ระบบสุขภาพเป็นจุดยืนของสันติภาพในพื้นที่ให้นานที่สุด และไม่อยากให้ความรุนแรงมาเกิดขึ้น ในระบบสุขภาพอย่างที่มีข่าวที่ผ่านมา พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ มองว่าเป็นพื้นที่พิเศษ ไม่ได้มองเห็นแต่ความทุกข์ แต่เป็นโอกาสที่มองเห็นคุณค่าของวิชาชีพเรา ขอบคุณคณะแพทย์และผู้เกี่ยวข้องที่สร้างแพทย์ให้สามารถทำงานท่ามกลางวิกฤติได้ เชื่อมั่นในสันติภาพที่นำโดยระบบสุขภาพ เชื่อว่าวิชาชีพแพทย์ได้รับสิทธิที่ทำงานได้ทั้งสองฝ่าย โรงพยาบาลของเรา ใครมาก็ตาม ไม่ว่าเชื้อชาติศาสนาอะไร มีิสิ่งหนึ่งเหมือนกันหมด คือ ความเป็นมนุษย์ที่ต้องการได้รับบริการที่ดีจากเรา เห็นว่าวิชาชีพแพทย์มีคุณค่าที่ได้ช่วยเหลือเยียวยาสังคม ให้สังคมมีสันติสุข
หัวใจสำคัญของการเป็นแพทย์ชนบท...
นายแพทย์นิรันดร์ เล่าว่า สำหรับตัวเอง คือ เลือกอยู่ในชนบทก่อน มองความงามของชนบทให้ออก แล้วเราอยู่กับความงามตรงนั้น ซึ่งไม่ใช่มีทุกอย่าง มีความแตกต่างจากสิ่งที่เราคาดหวัง แล้วสามารถมองตรงนั้นเป็นความงดงามได้
และขอฝากแพทย์ชนบทรุ่นใหม่ สำหรับน้องๆ ที่กำลังจะจบ หรือจบใหม่ทุกคน คิดว่าสิ่งที่มีอยู่ในตัว คือทรัพย์สินอันมีค่า คือวิชาแพทย์ซึ่งมีประโยชน์กับมนุษย์ทุกคน ส่วนตัวถือว่าคณะแพทย์ได้เจียระไนเพชรเม็ดงาม จะทรงคุณค่ามาก ถ้ากระจายอยู่ทั่วท้องฟ้าในคืนมืดมิดในชนบทที่ห่างไกล แต่จะมีค่าเพียงน้อยนิด หากเป็นสมบัติของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง อยากจะฝากว่า น้องๆ ทุกคนสามารถทำสิ่งที่มีคุณค่าในชนบทได้ และเป็นคุณค่าที่เราจะภาคภูมิใจในชีวิตตลอดไป
ถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของแพทย์ชนบท และเป็นอีกหนึ่งตัวแทนของเจ้าหน้าที่ทุกสาขาอาชีพ ที่ทำงานในพื้นที่ยากลำบาก ไม่ว่าแห่งหนใดในประเทศไทยที่ยังเห็นคุณค่า และทำประโยชน์แก่คนในพื้นที่ชนบทและสังคมไทยอย่างมุ่งมั่น หวังว่าวันหนึ่งข้างหน้า ความหวังที่ตั้งใจ และการทำงานหนักที่ก่อขึ้น ย่อมสามารถ ผลิตผลการพัฒนาอันทรงคุณค่าแก่ประเทศไทยในไม่ช้าแน่นอน.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ยาอมตะ..ไข่ดองน้ำส้มสายชูหมัก

***ยาอมตะ..ไข่ดองน้ำส้มสายชูหม ัก*** ไข่ดิบดองน้ำส้มสายชูหมักเป็นตำ รายาโบราณของจีนในสมัยพระเจ้าจิ ๋นซีฮ่องเต้ ได้สืบทอดต่อมาจนถึงบัดนี้ได้เผ ยแพร่ไปทั่วแถบเอเชีย  และในหมู่ชาวจีน  ในประเทศอเมริกา ผู้นำตำรามาเผยแ พร่คน แรกได้นำยามาทานเอง และแนะนำให้เพื่อน ฝูงทานด้วยได้ ผลดีเหมือนปาฏิหารย์สามารถรักษา โรคได้หลายโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคของผู้สูงอายุ ผู้เผยแพร่ทานยาไปแล้วกว่า 100 ฟองได้ผลดีเหมือนอย่างหนังกำลัง ภายใน สังเกตจากการเดินขึ้นบันไดจะไม่เหนื่อยเหมือนแต่ก่อน เพราะหัวใจจะแข็งแรง มากเป็นพิเศ ษ สรรพคุณ : รักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ (โรคหัวใจ) เลือดข้นและเหนียวเบาหวาน ความดันโลหิต สูง  ความดัน โลหิตต่ำ ลดไขมันในเลือด (ทั้งคลอเรสเตอรอลและไตรกลีเซอไ รด์) ไทรอยด์อัมพฤกษ์หรืออัมพาต อันเนื่องจาก เส้นเลือดในสมองตีบ ละลายหินปูน อาการเมื่อยชาตึงปวดและบวมตามร่างกาย โดยเฉพาะอย่ างยิ่งบริเวณด้านหน้า และด้านหลั ง ปวดเข่าปวดหลังขาไม่มีเรื่ยวแรง (ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากหินปูนที่ง อก พอกกระดูกสันหลังเบียดหรือทับ เส้นประสาท)

Detox ราคาประหยัดด้วยกระเจี๊ยบเขียว

หลังจากงานเฉลิมฉลอง ในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา หลายคนคงกินเลี้ยงสังสรรค์กัน อาจจะเผลอตามใจปาก อาจลืมดูแล สุขภาพ ตัวเอง ว่าในรอบปีที่ผ่านมาร่างกายเราทำงานหนักโดยเฉพาะสุขภาพภายในที่ต้องแบกภาระหนักกับอาหารการกินที่เรากินเข้าไปอย่างไม่ระวัง เช่น กินปลาดิบ เสต็ก ผักดิบ ของหมักดอง  อาหารเหล่านี้อาจจะมีพยาธิแฝงตัวอยู่ อย่างน้อยร่างกายเราควร detox การถ่ายพยาธิปีละครั้งก็เป็นเรื่องดี เนื่องจากเจ้าพยาธิจะทำให้เลือดลมเดินไม่ดี และเมื่อมีการวางใข่ก็จะทำให้เลือดสกปรก ส่งผลทำให้เป็น ไฝ ฝ้า ผิวพรรณหมองคล้ำ ไม่สดใส กระเจี๊ยบเขียว  เป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพราะมีวิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเส้นใยสูง คนไทยส่วนใหญ่นิยมนำ กระเจี๊ยบเขียวมาจิ้มน้ำพริก นอกจากนี้ยังนำมาทำอาหารได้หลายอย่างอาทิ ยำกระเจี๊ยบเขียว แกงกะหรี่ปลาใส่กระเจี๊ยบเขียว ผัดเมล็ดกระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบเขียวชุบแป้งทอด เป็นต้น สรรพคุณทางยา กระเจี๊ยบเขียว  เป็นพืชที่หาซื้อได้ง่าย มีขายตามตลาดสดทั่ว รวมทั้งในศูนย์การค้า มีคุณสมบัติในการช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ เพราะในฝักกระเจี๊ยบนั้นมีสารเมือกพวกเพ็กติน (Pectin)

สูตรสำเร็จ 90 วัน ผู้นำคนใหม่

วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557 เวลา 16:54:11 น. มติชนออนไลน์ เมื่อวันที่ 24 กันยายน นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เขียนข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก โดยระว่า เมื่อวันก่อนไปเจอหนังสือเล่มนึง น่าสนใจครับ ผมอ่านแล้วมีประโยชน์ดี โดยเฉพาะในช่วงใกล้ตุลาคม ที่จะมีการโยกย้ายข้าราชการระดับสูง รวมถึงคนทั่วไปที่ต้องมีการเปลี่ยนงาน หรือ เปลี่ยนตำแหน่งครับ หนังสือชื่อ "The First 90 Days" เขียนโดย Michael D.Watkins ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการพัฒนาผู้นำ การเปลี่ยนตำแหน่ง การเริ่มงานใหม่ Watkins เขากล่าวว่าจากผลการสำรวจผู้บริหารมากกว่า 1,300 คน 90% เห็นว่าช่วงการเริ่มงานในตำแหน่งใหม่เป็นช่วงที่ท้าทายที่สุดของการเป็นผู้นำ และ 75% เห็นว่าความสำเร็จหรือความล้มเหลวในช่วง 2-3 เดือนแรก จะเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญถึงความสำเร็จในอนาคต เขาจึงเขียนหนังสือเพื่อแนะนำกลยุทธ์ในการทำงาน 90 วันแรกให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เขาแนะนำกับดักที่ทำให้ผู้บริหารหลายคนล้มเหลวกับการเริ่มงานใหม่ ไว้ 7 ข้อครับ 1. ยึดติดกับความรู้ วิธีการปฏิบัติเดิมๆ ที่เคยทำสำเร็จในองค